การวิเคราะห์ตัวเองด้วยเทคนิค SWOT Analysis คืออะไร?
แล้วทำไมจึงต้องวิเคราะห์ตัวเอง?
![]() |
ขอบคุณรูปภาพจาก www.canva.com |
ก่อนอื่นจะพาทุกคนไปรู้จักคำว่า SWOT กันก่อน
การวิเคราะห์ SWOT (สวอต) เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์สำหรับองค์กร ใช้ในการบริหารธุรกิจ ซึ่ง SWOT เป็นเทคนิคที่ใช้ศึกษาในหลักสูตร Marketing Management ถูกคิดค้นโดย ศาสตราจารย์ อัลเบอร์ต ฮัมฟรีย์ (Albert Humphrey) แห่งมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ต โดยคิดค้นขึ้นระหว่างปี ค.ศ.1960-1970
ความหมายของ SWOT คือ
- S มาจากคำว่า Strength หมายความว่า จุดแข็ง
- W มาจากคำว่า Weakness หมายความว่า จุดอ่อน
- O มาจากคำว่า Opportunity หมายความว่า โอกาส
- T มาจากคำว่า Threat หมายความว่า อุปสรรค
โดยสามารถแบ่ง SWOT ออกเป็นกลุ่มหลัก ได้ 2 กลุ่ม คือ
- ปัจจัยภายใน (Internal Factor) เป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ ประกอบไปด้วย S และ W
- ปัจจัยภายนอก (External Factor) เป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ยาก หรือ ไม่สามารถควบคุมได้ ประกอบไปด้วย O และ T
ทีนี้ทุกคนคงจะพอรู้จัก SWOT กันคร่าว ๆ ไปแล้ว ดังนั้นเรามาดูกันต่อว่าเราจะสามารถนำเทคนิค SWOT Analysis มาวิเคราะห์ตัวเองได้อย่างไรบ้าง ซึ่งต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการวิเคราะห์ตัวเองของผู้เขียน
- จุดแข็ง (Strength)
1. เป็นคนรักความถูกต้อง ความยุติธรรม
2. มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น
3. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
4. มีความซื่อสัตย์ อดทน มั่นคงในความคิดของตัวเอง
5. มีความสนใจและชื่นชอบในด้านงานเขียนและจิตวิทยา
2. มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น
3. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
4. มีความซื่อสัตย์ อดทน มั่นคงในความคิดของตัวเอง
5. มีความสนใจและชื่นชอบในด้านงานเขียนและจิตวิทยา
- จุดอ่อน (Weakness)
1. ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบเพ้อฝันเกินจริง
2. ไม่มีภาวะความเป็นผู้นำ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
3. ไม่ค่อยขวนขวายหาความรู้ ปล่อยเวลาให้เปล่าประโยชน์
4. มีความขี้เกียจ (ในบางเวลา) ชอบหาข้ออ้างในการผัดวันประกันพรุ่ง
5. เป็นคนพูดจาขวานผ่าซาก มีความเป็นตัวเองสูงจนดูเหมือนคนก้าวร้าว
- โอกาส (Opportunity)
1. ในยุคปัจจุบันมีแหล่งเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการศึกษาค้นคว้า
หาความรู้เพิ่มเติม หาแรงบันดาลใจในสิ่งที่สนใจ
ได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ หรือ โซเชียลมีเดียต่าง ๆ
2. การเติบโตของ
Digital Marketing เป็นไปอย่างรวดเร็ว
ทำให้สิ่งที่เราสนใจ
สิ่งที่เราอยากสื่อสาร
สามารถส่งออกไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด
รวดเร็ว และหลากหลายช่องทาง
3. ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวในช่วงที่ว่างงาน
เพื่อมีโอกาสได้ทำตามความชอบ
ความสนใจ
- อุปสรรค (Threat)
1. จากสภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ในปัจจุบันส่งผลให้การหางานประจำค่อนข้างยากลำบาก
2. จากการเติบโตของโลก Online หากต้องการทำงานหารายได้จากงานเขียน ไม่ว่าจะเป็น รับจ้างเขียนบทความ ทำ Blog หรือ Website อาจเป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีคู่แข่ง และ Content ที่น่าสนใจเพิ่มมากขึ้น
3. เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ธุรกิจเกิดการปรับตัว ปรับเปลี่ยนองค์กร รวมทั้งเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ ส่งผลให้ทุกภาคส่วนลดต้นทุน ค่าใช้จ่าย จึงเกิดภาวะการว่างงานสูงและการแข่งขันก็สูงตาม
อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนคงสงสัยว่าแล้วเราจะวิเคราะห์ตัวเองไปทำไมล่ะ ในเมื่อ SWOT มันเป็นหลักการที่ใช้วิเคราะห์สำหรับธุรกิจ จะเอามาวิเคราะห์ตัวเองไปเพื่ออะไร ... ผู้เขียนอยากบอกว่า ประโยชน์ของ SWOT ไม่ได้แค่ใช้ในเชิงธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับหลาย ๆ เรื่อง เช่น การวิเคราะห์ต้วเอง การเรียน การทำงาน เป็นต้น
ดังนั้นบทความนี้เขียนขึ้นมาเพื่อให้ผู้อ่านได้ให้เวลาทบทวนชีวิตของตัวเองบ้าง เมื่อคุณวิเคราะห์ได้ครบทุกข้อ จงลองจับคู่จุดแข็งกับโอกาสว่าคุณมีศักยภาพสำหรับโอกาสที่คุณมีหรือยัง หรือ ลองจับคู่จุดอ่อนกับอุปสรรคว่าจะวางแผนหาแนวทางแก้ไขได้อย่างไรบ้าง
คุณเคยได้ยินไหมว่า "รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง" หากคุณจะประกอบธุรกิจ คุณยังไม่รู้ จุดแข็ง จุดอ่อน ไม่มองหาโอกาส ไม่ศึกษาอุปสรรค โอกาสที่ธุรกิจจะประสบความสำเร็จมันก็เป็นไปได้ยาก
เช่นเดียวกันกับตัวเรา หากเรายังไม่เคยได้ทำความรู้จักตัวเราเอง ยังมองไม่เห็นข้อดี ข้อเสีย แล้วเราจะปรับปรุง พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้อย่างไร ผู้เขียนไม่ใช่คนเก่ง ไม่ใช่คนมีความรู้มากมาย และ ณ ขณะนี้ยังไม่ใช่บุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิต แค่อยากแบ่งปันแนวความคิดที่รู้สึกว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านเท่านั้นเอง 🌝
"ความรู้ในตำรา เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับตัวเราได้
และมันจะมีคุณค่ามากขึ้นไปอีกหากเรานำประสบการณ์จากการเรียนรู้มาแบ่งปัน"
Pung′Noey :)
Pung′Noey :)
No comments:
Post a Comment