Monday, 26 November 2018

[แชร์ประสบการณ์] เหตุผลในการตัดสินใจเขียนใบลาออกด้วยคำว่า "หมด Passion ในการทำงาน"


          เหตุผลที่จะทำให้มนุษย์เงินเดือนต้องตัดสินใจลาออกจากงานประจำที่ทำอยู่นั้นมีมากมายหลากหลายข้อ เช่น ความเครียด ความเหนื่อย ความกดดัน ความไม่มั่นคง ความขัดแย้ง 
การขาดแรงจูงใจในการทำงาน การขาดความชัดเจนในการปฏิบัติงาน การไม่เป็นที่ยอมรับ การไม่ก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ การทำงานผิดพลาดเสียหาย หรือ ไม่รักในงานที่ทำอยู่ ฯลฯ



✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨
     
แล้วเหตุผลอะไรล่ะที่ทำให้เรา "หมด Passion ในการทำงาน" ... แล้วคำว่า Passion มันมีความหมายว่าอะไร?

หากไปเปิดดิกชั่นนารี คำว่า "Passion" จะแปลว่า ความหลงใหล ความหลุ่มหลง ความชอบ ความโกรธ กิเลส ตัณหา

Passion เป็นคำภาษาอังกฤษโดยมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน Pati 

ซึ่งมีความหมายว่า Pain แปลว่า ความทุกข์ ความเจ็บปวด 

ดังนั้นคำว่า Passion จึงแปลได้หลายอย่างขึ้นอยู่กับบริบทที่นำไปใช้ 

เป็นคำที่สื่อถึงความกระตือรือร้นจากความชอบความหลงใหล หรือ 

ความเจ็บปวดความเกลียด จนกลายเป็นแรงผลักดันจากภายในให้เรากระทำบางสิ่งบางอย่าง

✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨


ขอบคุณรูปภาพจาก https://pixabay.com



     เมื่อชีวิตการทำงานเดินมาถึงจุดนึง จุดที่เราไม่ได้รู้สึกยินดี ยินร้าย จุดที่ไร้ซึ่งความรู้สึกต่องานที่ทำ ต่อองค์กรที่อยู่ จึงเป็นสาเหตุให้เรากลับมาพิจารณาตัวเองว่าเราเหมาะสมกับองค์กรหรือไม่ หากงานที่ทำออกมาไม่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสภาพจิตใจไร้ซึ่งความปรารถนาใด ๆ เราควรลาออกเพื่อไม่เป็นภาระขององค์กรและเพื่อนร่วมงาน 

     โดยเหตุผล 2 ข้อ ที่ทำให้เรา "หมด Passion ในการทำงาน" คือ


1. ทัศนคติ (Attitude) ไม่สอดคล้องกับนโยบายองค์กร : ในทางจิตวิทยา ทัศนคติ คือการแสดงออกถึงความชอบ ความไม่ชอบ ต่อบุคคล สิ่งของ สถานที่ หรือ เหตุการณ์ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทัศนคติสร้างขึ้นจากประสบการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน สามารถเปลี่ยนแปลงได้ สามารถแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรม 

     หากเรามีทัศนคติที่ไม่สอดคล้องต่อนโยบายขององค์กร หรือ เราไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติ เพื่อที่จะอยู่ร่วมกับองค์กรได้ มันจะกลายเป็นความอึดอัด กดดัน ปราศจากความสุขและไร้ซึ่งแรงผลักดันที่จะพาตัวเองตื่นในแต่ละวันไปปฏิบัติงาน


2. ตรรกะ (Logic) ไม่ตรงกับระบบการทำงาน : ตรรกะ คือ ความคิดแบบเป็นระบบ เป็นเหตุ เป็นผล ซึ่งแต่ละคนมีความคิดที่ไม่เหมือนกัน มีเหตุและผลในการคิดการตัดสินใจที่แตกต่างกันออกไป

     การที่เรามีตรรกะไม่ตรงกับระบบการทำงาน ย่อมก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งตามมาได้ นี่จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกไม่มีความกระตือรือร้นในการทำงาน ไม่อยากฝืนทำในสิ่งที่เราเห็นว่าไม่สมเหตุสมผล ไม่อยากดันทุรังจนกลายเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับองค์กรและเพื่อนร่วมงาน



   2 เหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น มันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเรา เกี่ยวกับระบบความคิดของเราทั้งสิ้น เราเชื่อว่าความคิดส่งผลต่อความรู้สึกและการตัดสินใจ การเปลี่ยนแปลงในวันนี้อาจนำไปสู่จุดเริ่มต้นที่เหมาะสมกับตัวเราในวันข้างหน้า เราแค่ "หมด Passion  ในการทำงาน" แต่เรายังไม่หมดไฟที่จะก้าวต่อไป

   เราเชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าการทำงานกับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง หน้าที่ใดหน้าที่หนึ่ง ก็เหมือนกับการที่เรามีแฟน ที่จะต้องเรียนรู้ ปรับตัว ทำความเข้าใจ ทำความรู้จักกันไปเรื่อย ๆ พอมาถึงจุดนึงที่มันไปต่อไม่ได้แล้ว เราก็แค่เลิกกันไป แล้วก็ไปเริ่มต้นเรียนรู้ใหม่ก็แค่นั้นเอง ... ❤




     "จะไม่โทษคนอื่นที่ทำไม่ถูกใจเรา แต่จะพาตัวเราไปทำในสิ่งที่เราพอใจ"


Pung′Noey :)











No comments:

Post a Comment